10 สัญญาณอันตราย ข้อไหล่ติด ข้อไหล่ยึด ภัยร้ายวัยทำงาน-วัยชรา

 

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็ประสบปัญหากระดูกกระเดี้ยวเริ่มทำงานไม่ค่อยได้ดั่งใจเหมือนเดิม ขยับร่างทีก็ดังกร๊อกแกร๊ก หนำซ้ำอาจจะประสบปัญหา "ไหล่ติด” จนไม่สามารถเอี้ยวตัวหยิบของ หรือแม้กระทั่งใส่เสื้อด้วยตัวเองยังลำบาก โรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไร

 ข้อไหล่ติด ข้อไหลยึด คืออะไร?

หลายคนเรียกสั้นๆ ว่า “ไหล่ติด” เป็นอาการเจ็บปวดที่หัวไหล่จนไม่สามารถขยับ หรือยืดแขนได้อย่างอิสระ มักมีอาการปวดเมื่อต้องขยับแขนไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทางปกติ เช่น เอี้ยวแขนไปด้านหลัง ทำท่าตามระเบียบพัก รูดซิบด้านหลังเสื้อ สวมเสื้อแบบสวมผ่านศีรษะ หรือแม้กระทั่งยืดแขนหยิบของจากที่สูง

 ข้อไหล่ติด มีสาเหตุมาจากอะไร?

เกิดจากอาการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อบริเวณหัวไหล่ โดยอาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด หรืออาจเป็นเพราะเคยมีอุบัติเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อหัวไหล่ฉีกขาด อักเสบ หรือมีกระดูกงอกในหัวไหล่ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนอาจเกิดเป็นพังผืดติดยึด

นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตอยู่ในที่อากาศเย็นจัด อย่างในห้องแอร์ตลอดทั้งวัน และไม่ค่อยมีการขยับเขยื้อนร่างกายมากนัก เพราะความเย็นที่จ่อที่ร่างกายนานๆ อาจทำให้เลือดอาจไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อได้เพียงพอ จนอาจเกิดเป็นพังผืดที่บริเวณหัวไหล่ได้

อาจมีอาการไหล่ติดได้เพียงข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ (แต่มักเป็นแขนข้างที่ไม่ถนัด) หากปล่อยไว้นานวันเข้า อาจพัฒนากลายเป็นหัวไหล่แข็ง และขยับแขนอย่างอิสระไม่ได้อย่างถาวร จนอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายถุงหุ้มไหล่ เพื่อให้แขนกลับมาทำงานได้ตามปกติ

10 สัญญาณอันตราย เสี่ยงไหล่ติด

หากใครมีอาการปวดจากการกระทำดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์

1. เอื้อมหยิบของจากที่สูงไม่ได้

2. เอี้ยวตัวหยิบของทางด้านหลังไม่ได้ เช่น เอี้ยวหยิบของที่เบาะหลังของรถยนต์ ขณะนั่งอยู่ที่เบาะหน้า

3. เอื้อมไปรูดซิบด้านหลังเสื้อไม่ได้

4. ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ่านทางศีรษะไม่ได้

5. ทำท่าตามระเบียบพักไม่ได้

6. ผลักบานประตูหนักๆ ไม่ได้

7. เริ่มหมุนพวงมาลัยรถยนต์ลำบากขึ้น

8. ยกแขนขึ้นสระผมตัวเองลำบาก

9. เอื้อมไปล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก

10. ยกไหล่ลำบาก

 ใครเสี่ยงมีอาการไหล่ติดบ้าง?

ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุราว 40-50 ปีขึ้นไป เป็นได้เพศหญิงและเพศชาย (อาจจะพบในเพศหญิงได้มากกว่าเล็กน้อย) บางรายอาจเพราะเคยประสบอุบัติเหตุจนมีอาการเจ็บไหล่ เจ็บแขน จึงไม่สามารถขยับแขนได้มาก นานวันเข้าก็เกิดอาการไหล่ติด ไหล่ยึดได้เช่นกัน

นอกจากนี้อาการไหล่ติด ยังอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ต่อมธัยรอยด์ และโรคหัวใจ เป็นต้น

ไหล่ติด รักษาอย่างไร?

อาการไหล่ติด ไม่ใช่อาการร้ายแรงที่น่ากลัวอะไร หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใช่ช่วงแรกๆ โดยแพทย์จะแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด เพื่อขยับแขนให้พังผืดบริเวณข้อต่อหัวไหล่ลดลง โดยแรกๆ อาจมีอาการเจ็บปวดบ้าง แต่หากค่อยๆ ทำกายภาพบำบัดไปเรื่อยๆ บ่อยๆ รับรองว่าว่าไหล่จะกลับมาขยับได้ดีเหมือนเดิม

ท่ากายบริหาร ลดอาการไหล่ติด

1. นั่งเก้าอี้ หลังตรงพิงพนัก ค่อยยืดแขนชูตรงชี้ฟ้า แขนแนบหู ทำช้าๆ

2. ยืนตรง แขนแนบลำตัว ยกแขนไปด้านหน้าแล้วค้างไว้ แล้วค่อยๆ ยกแขนไปด้านหลังเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้เล็กน้อย

3. ยกแขนระดับไหล่ เอามือแตะกำแพง ค่อยๆ ทำมือเหมือน “ปูไต่” แล้วค่อยๆ ยกแขนตามกำแพงขึ้นไปเรื่อยๆ

4. เอาแขนพาดไว้ที่ขอบโต๊ะ ค่อยๆ ย่อตัวลงจนระดับแขนบนโต๊ะสูงเหนือศีรษะ ค้างไว้สักครู่

5. หาราวบันไดที่เป็นทางระนาบ (ไม่เฉียง) หันหลังให้ราวจับ แล้วเอามือจับราวบันไดด้านหลัง ค่อยๆ ย่อตัวลงเรื่อยๆ

 

แม้ว่าจะดูเหมือนเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น แต่หากดูที่สาเหตุจริงๆ แล้ว วัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในห้องแอร์ และไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายมากนัก และไม่มีเวลาออกกำลังกาย ก็อาจเสี่ยงมีอาการไหล่ติดได้เหมือนกัน หากเริ่มมีอาการเมื่อไร รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนสายเกินไปนะคะ

 

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :หมอชาวบ้าน,ชุดหนังสือสุขภาพ Bones Care Kit กระดูก 206 ชิ้นที่ควรใส่ใจ

ภาพ :iStock

 

Main category

  • ครีมบำรุงข้อ สารสกัดจากขิง "จินเจอวัน" ขนาด 50 กรัม / 1 หลอด
    300.00 ฿
  • ครีมบำรุงข้อ สารสกัดจากขิง "จินเจอวัน" ขนาด 50 กรัม / 12 หลอด
    2,820.00 ฿
    3,600.00 ฿  (-22%)
  • ครีมบำรุงข้อ สารสกัดจากขิง "จินเจอวัน" ขนาด 50 กรัม / 3 หลอด
    800.00 ฿
    900.00 ฿  (-11%)
  • ครีมบำรุงข้อ สารสกัดจากขิง "จินเจอวัน" ขนาด 50 กรัม / 6 หลอด
    1,500.00 ฿
    1,800.00 ฿  (-17%)