ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง…เกิดได้จากอะไรกันแน่

 

 

ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิง…เกิดได้จากอะไรกันแน่

 

แต่ก่อนเราอาจเข้าใจว่าปัสสาวะเล็ดเป็นโรคสำหรับผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงจำนวนมากทั้งที่อายุไม่มาก แต่ก็มีอาการปัสสาวะเล็ดจากการไอ จาม หัวเราะ หรือแม้แต่การออกกำลังกายได้เหมือนกันเรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่า

ปัสสาวะเล็ด…คืออะไร?

“ปัสสาวะเล็ด” หรือเรียกโรคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “อาการช้ำรั่ว” (Urinary Incontinence) เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดที่เกิดได้กับทุกเพศ เริ่มจากวัยทำงานไปจนถึงเริ่มเข้าวัยทอง สาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และความอ่อนแอของอุ้งเชิงกราน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และในบางกรณีก็เกิดจากนิ่วหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะได้ ทั้งนี้จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุด

ปัสสาวะเล็ด…เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 30 ปี!!!

พฤติกรรมง่ายๆ ที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด ได้แก่ ไอ จาม หัวเราะ ซึ่งทำให้เกิดความดันในช่องท้องจนเกิดปัสสาวะเล็ดออกมาได้ แต่ระดับความรุนแรงอาจแตกต่างกัน หากไม่รุนแรงมากอาจจะใช้เวลาไม่นานก็สามารถรักษาให้หายได้ ระหว่างนั้นอาจจะใช้แผ่นซับปัสสาวะไปพลางๆ ก่อน แต่บางกรณีอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาหารือวิธีรักษากันต่อไป

วิธีรักษา…เมื่อปัสสาวะเล็ด

มีตั้งแต่วิธีง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ จนต้องพบแพทย์หากเป็นขั้นรุนแรง

- หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย หัดควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ให้บ่อยเกินไป ซึ่งปกติคือปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป

- บริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณนี้ (รอบช่องคลอด) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เช่น ขมิบค้างไว้ 5 วินาที และค่อยๆ ขยับเป็น 15 วินาที ในรายที่เป็นไม่รุนแรงน่าจะสามารถช่วยให้จำนวนครั้งในการเล็ดค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ

- ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเข้มข้นและทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะได้ และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้

- ลดน้ำหนัก เพราะในบางรายที่มีน้ำหนกตัวมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้

- รักษาด้วยการทานยา หรือหากรุนแรงแพทย์อาจพิจารณาให้รับการผ่าตัด ซึ่งส่วนมากจะผ่าตัดที่บริเวณท่อปัสสาวะ

 

ที่มา : https://www.paolohospital.com/